วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ครีโอพัตรา : ราชินีองค์สุดท้ายแห่งราชวงค์อียิปต์

หากถามว่าราชินีองค์ใดเลอโฉม ฉลาดหลักแหลม และมีเสน่ห์ที่เย้ายวน
ในราชวงศ์อียิปต์ หลายคนคงตอบว่า "คลีโอพัตรา"
เพราะเธอได้รับฉายาว่าเป็นหญิงสาวเจ้าเสน่ห์ที่กษัติย์นักรบ
ผู้เกรียงไกรแห่งโรมันอย่าง "จูเลียส ซีซ่าร์"
และ "มาร์ค แอนโทนี่" ต้องยอมศิโรราบบนตักของนาง
อย่างละมุนละม่อม คลีโอพัตราเป็นราชินีที่มีความชาญฉลาด
ในทางการเมืองและการรู้เท่าทันคน เพื่อรักษาราชวงศ์อียิปต์ไว้
ภายใต้การเรืองอำนาจแห่งโรมันที่พระนางไม่ยอมก้มหัวให้
จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตที่ประวัติศาสตร์ชาติอียิปต์
ต้องบันทึกไว้ในความทรงจำไปชั่วนิรันด์
 
ประมาณ 322 ปีก่อนคริตกาล พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งกรีก
ได้กรีฑาทัพพร้อม "พโตเลมี" ซึ่งเป็นยอดขุนพลคู่ใจ
บุกเข้าครอบครองอียิปต์แล้วตั้งเมืองหลวงอียิปต์แห่งใหม่
ชื่อว่า "อเล็กซานเดรีย" ตามพระนามของพระองค์

(อเล็กซานเดอร์มหาราชเป็นนักรบกรีกผู้ยิ่งใหญ่
ที่ได้รับการขนานนามว่า "นักรบผู้ไม่เคยพ่ายแพ้"
โดยรบร้อยครั้งชนะทั้งร้อยครั้ง และมีพระชนมายุเพียง 32 พรรษา)
เมืองหลวงแห่งใหม่สร้างยังไม่ทันเสร็จพระองค์ก็เสด็จสวรรคต
ลงเสียก่อน ทำให้บรรดาหัวเมืองต่างๆ พากันตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่
"พโตเลมี" ขุนพลผู้ชาญศึกได้เป็นผู้รวบรวมดินแดนอียิปต์
ให้เป็นปึกแผ่นขึ้นอีกครั้ง โดยสถาปนาตนเป็นกษัตริย์พโตเลมีที่ 1
และมีการสืบราชวงศ์จนกระทั่งสมัยคลีโอพัตราที่ 7 (ราชินีองค์สุดท้าย
แห่งอียิปย์ : คลีโอพัตราราชินีแห่งไอยคุปต์นั้นมีกันถึง 7 พระองค์
แสดงว่าชื่อนามนี้ได้รับความนิยมและฮอทฮิตพอสมควรเมื่อครั้งโบราณ)
ในยุคปลายราชวงศ์ "พโตเลมี" มีการแย่งชิงราชสมบัติกันภายในราชวงศ์
ประจวบเหมาะกับการแผ่ขยายอำนาจของโรมัน 
ทำให้ฟาโรห์"พโตเลมีที่ 11" ติดสินบนพวกโรมด้วยทรัพย์สมบัติมหาศาล
เพื่อตอบแทนการสนับสนุนให้ตนได้ครองบัลลังก์ เมื่อทรงครองราชย์
ก็ขูดรีดภาษีประชาชนเป็นจำนวนมากเพื่อจ่ายให้พวกโรม 
เมื่อฟาโรห์ "พโตเลมีที่ 12" บิดาของคลีโอพัตราขึ้นครองราชย์
ก็ต้องแบกรับหนี้สินมากมายและมีการก่อกบฏขึ้น ฟาโรห์พโตเลมีที่ 12
หลบหนีไปยังโรมเพื่อขอความช่วยเหลือและกู้ราชบัลลังก์คืนมา
โดยมีทหารโรมันคุมเชิงอยู่ซึ่งมีสภาพเป็นกึ่งเมืองขึ้นของโรม
เพื่อรักษาอำนาจฟาโรห์ไว้ก็ต้องแลกด้วยการเอาอกเอาใจโรม
หลังจากนั้นไม่นานฟาโรห์ก็สิ้นพระชนม์ และมีพินัยกรรม
แต่งตั้งให้คลีโอพัตราเป็นราชินีเคียงคู่กับพาโรห์พโตเลมีที่ 13
ซึ่งเป็นน้องชายของคลีโอพัตรา (ตามกฏมณเฑียรบาลของอียิปต์นั้น
ฟาโรห์ต้องสมรสกับพี่สาวหรือน้องสาวเพื่อปกครองอียิปต์ร่วมกัน)
 
คลีโอพัตรา เป็นราชินีที่มีความฉลาดหลักแหลมและรู้เท่าทันคน
ซึ่งยากที่พวกขุนนางจะเชิดได้ เพราะในขณะนั้นฟาโรห์มีพระชนม์
12 พรรษา และคลีโอพัตรามีอายุเพียง 19 ปีเท่านั้น
แต่เหล่าขุนนางก็สามารถยุยงให้ฟาโรห์ขับไล่นางออกจากวังได้สำเร็จ
คลีโอพัตราหนีออกจากอเล็กซานเดรียไปซีเรีย เพื่อจัดกองทัพบุกอียิปต์
(ซีเรียเคยเป็นหนี้บุญคุณนางมาก่อน) ซึ่งในขณะนั้น
อาณาจักรโรมันเกิดสงครามกลางเมืองระหว่าง "จูเลียส ซีซ่าร์"
กับ "ปอมเปย์ แมกนัส" ผู้ชนะคือซีซ่าร์ ปอมเปย์ได้หนีไปพึ่งอียิปต์
แต่กลับถูกฟาโรห์สั่งสังหารเพื่อเอาศรีษะไปกำนัลแด่ซีซาร์
และขอความช่วยเหลือให้จัดการกับทัพของคลีโอพัตรา
ซีซ่าร์ไม่ทรงพอพระทัยที่ฟาโรห์สั่งฆ่าตัดศรีษะปอมเปย์
เพราะทรงเห็นว่าเป็นการไม่ให้เกียรติย์นักรบแห่งโรม

ในคืนนั้นคลีโอพัตราได้วางแผนเพื่อเข้าพบซีซ่า
โดยเข้าไปอยู่ในม้วนพรมเพื่อเป็นของขวัญให้ซีซ่าร์
เมื่อนางกำนัลยกห่อพรมดังกล่าวไปถวายองค์ซีซ่าร์
เมื่อคลี่พรมออกก็ทรงพบกับคลีโอพัตราที่มีรูปโฉมงดงาม
(ปล.จะสู้คุณอีฟได้ไหมเนี๊ยะ..อิอิอิ) ซีซ่าร์ก็หลงรักในทันที

ในขณะนั้นซีซ่าร์อายุกว่า 50 ปีแล้วแต่มีอำนาจมากในยุคนั้น
ด้วยเหตุผลนี้ทำให้คลีโอพัตราต้องเข้าหาซีซ่าร์
ในการปลดอำนาจฟาโรห์พโตเลมีที่ 13 และพวกคณะขุนนาง
และใช้อำนาจของซีซ่าร์ตั้งตนเป็นราชินีแห่งอียิปต์
("จูเลียส ซีซ่าร์" เป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรโรมัน
ที่ต่อมาได้มีการขนานนามจักรพรรดิ์แห่งโรมทุกพระองค์ว่า "ซีซ่าร์")
ทั้งคู่ครองรักกันที่อียิปต์จนมีบุตรชายด้วยกัน 1 คน คือ "ซีซาร์เรี่ยน"

ซีซ่าร์อยู่กับคลีโอพัตราเป็นเวลานานโดยไม่กลับโรม
ทำให้สภาซีเนทแห่งโรมพากันโจมตีซีซ่าร์ว่าหลงผู้หญิงจนลืมโรม
ทำให้ฝ่ายต่อต้านโรมรวมตัวกันกบฏขึ้นที่เอเชียไมเนอร์
ซีซ่าร์ได้ปราบกบฏจนสำเร็จ เมื่อทรงกลับโรมจึงได้รับการสนับสนุน
จากประชาชนและสภาซีเนท ต่อมาซีซ่าร์ได้พาคลีโอพัตรา
เข้าไปยังกรุงโรม และให้ช่างปั้นรูปคลีโอพัตราโดยให้ชื่อรูปปั้น
ว่า "เทพีวีนัสเจเนทริกซ์" เพื่อประดับในเทวาลัย
ที่สร้างใหม่ ทั้งนี้ ฝ่ายต่อต้านซีซ่าร์ในสภาซีเนทกริ่งเกรงว่า
คลีโอพัตราจะชี้แนะให้ซีซ่าร์รวบอำนาจเป็นใหญ่แต่เพียงผู้เดียว
โดยมีซีซาเรี่ยนเป็นรัชทายาท (โรมเขามีรัฐสภาบริหารประเทศ)
พวกนักการเมืองก็กลัวจะสูญเสียอำนาจเลยมีการปล่อยข่าว
ให้ร้ายคลีโอพัตรา และสมคบคิดกันรุมฆ่าซีซ่าร์ด้วยมีดสั้น
ที่แอบนำเข้าไปในที่ประชุมรัฐสภา

ซีซ่าร์ได้ทำพินัยกรรมโดยระบุให้ออคตาเวี่ยน ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรม
เป็นผู้ปกครองโรม บ้างว่าในภายหลังซีซ่าร์ได้ยกตำแหน่ง
ให้ซีซาเรี่ยนแล้วมีการบิดเบือนโดยคนในสภาซีเนท 
คลีโอพัตราพร้อมลูกหนีกลับอเล็กซานเดรียเพื่อรักษาอียิปต์

"มาร์คแอน โทนี่" แม่ทัพผู้เกรียงไกรของซีซ่าร์ได้ออกไล่ล่า
สังหารพวกลอบสังหารซีซ่าร์องค์ก่อนจนสำเร็จทำให้เป็นวีรบุรุษ
ของชาวโรม ออคตาเวี่ยนผู้ครองโรมได้แต่งตั้งให้ "มาร์ค แอนโทนี่"
ไปดูแลพื้นที่ตะวันออกทั้งหมดโดยตั้งค่ายบัญชาการที่ทาร์ซัส
และยกน้องสาวชื่อ "ออคตาเวีย" ให้เป็นภรรยา
คลีโอพัตราได้ผูกสัมพันธ์เป็นพันธมิตรกับ "มาร์ค แอนโทนี่"
เพื่อเป็นหลักประกันความปลอดภัยให้กับชาติอียิปต์
จนแอนโทนี่เกิดความสิเหน่หาในคลีโอพัตราและย้ายมาอยู่
ที่อเล็กซานเดรีย ทำให้อียิปต์ได้แม่ทัพที่แข็งแกร่งไว้ป้องกันราชบัลลังก์
ทำให้ออคตาเวี่ยนเคืองแค้นเป็นยิ่งนักและฉวยโอกาสนี้
ประนามแอนโทนี่ว่าไปหลงหญิงอียิปต์จนละทิ้งภรรยาชาวโรม
ที่เป็นถึงน้องผู้ปกครองโรมันและประเทศชาติ
จนผู้คนกล่าวหาคลีโอพัตราว่า "หญิงแพศยา"
และเกิดสงครามระหว่างโรมกับอียิปต์ขึ้น
และอีกเหตุผลที่ออคตาเวี่ยนต้องการทำสงคราม
ก็เพราะต้องการฆ่า "ซีซ่าเรี่ยน" ซึ่งเป็นหน่อเนื้อของอดีตซีซ่าร์
ที่อาจจะมาทวงความชอบธรรมในราชบัลลังก์โรมได้

ในปีที่ 32 ก่อนคริตกาลกองทัพยิ่งใหญ่ของออคตาเวี่ยนแห่งโรม
และกองทัพอียิปต์ผสมโรมของแอนโทนี่ได้เผชิญหน้ากันคนละฟากฝั่ง
ของทะเลไอโอเนี่ยนและเข้าต่อสู้กัน ในระหว่างที่กองเรือรบของแอนโทนี่
มีทีท่าว่าจะพ่ายแพ้นั้นขุนนางอียิปต์ได้แนะให้คลีโอพัตรากลับลำเรือ
ไปอเล็กซานเดรียเพื่อหาทางป้องกันพระนคร แอนโทนี่เห็นดังนั้น
ก็นั่งเรือเล็กหนีทัพตามคลีโอพัตราไป จนได้รับความอัปยศอดสู
ในหมู่บรรดานักรบด้วยกัน ทำให้ทหารของแอนโทนี่สิ้นศรัทธา
ในตัวแม่ทัพพากันหนีเอาตัวรอดและเข้าหาทัพออคตาเวี่ยน

ทัพของออคตาเวี่ยนได้เคลื่อนพลสู่ดินแดนอียิปต์
ทหารอียิปต์พากันหนีทัพเหลือเพียงขุนพลคนเดียว
แอนโทนี่ออกไปเผชิญหน้ากับทัพของออคตาเวี่ยน
เพียงผู้เดียว แต่ไม่มีใครฆ่าเขาเลย แอนโทนี่จึงกลับ
อเล็กซานเดรีย และทราบข่าวผิดพลาดว่าคลีโอพัตราสิ้นแล้ว
จึงเสียอกเสียใจปลิดชีพตนเอง นางสนมนำร่างแอนโทนี่
ที่กำลังจะสิ้นใจมายังคลีโอพัตรา ทั้งนี้ พระนางได้สวมกอดสามี
และแอนโทนี่ก็สิ้นใจในอ้อมกอดของนาง คลีโอพัตราได้ตัดสินใจ
ฆ่าตัวตายด้วยงูพิษตามแอนโทนี่ไป ออคตาเวี่ยนได้เดินทัพ
ไปฆ่าซีซาเรี่ยน หลังจากนั้นอียิปต์ก็ตกอยู่ใต้อำนาจของโรมัน
และค่อยๆ สูญสิ้นอารยธรรมไปในที่สุด สมบัติอันล้ำค่าต่างๆ
ได้ขนไปยังโรมเป็นจำนวนมากมาย เมื่อยุคอียิปต์สิ้นสุดลง
ก็เป็นยุคทองของอาณาจักรโรมัน  เมื่อครั้งที่คลีโอพัตราสิ้นนั้น

นางได้สวมชุดทองของฟาโรห์และสวมมงกุฏรูปงูเห่าทองคำ
เหนือหน้าผาก วีรกรรมของนางที่หลายคนประนามว่ามากรักนั้น
นางทำไปเพื่อปกป้องอียิปต์ซึ่งเป็นอาณาจักรของบรรพบุรุษ
ที่เจริญรุ่งเรืองมาก่อนนับพันปีในลุ่มน้ำไนล์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น